วันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สิ่งศักดิ์สิทธิ์กลางกรุง

สิ่งศักดิ์สิทธิ์กลางกรุง
ณ สวนป่าศาลาพระราชศรัทธา วัดปทุมวนาราม
กลางป่าคอนกรีตกรุงเทพเมืองฟ้าอมรที่แออัดด้วยตึกสูงอาคารสำนักงานโดยเฉพาะในย่านปทุมวัน ราชประสงค์   ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า แหล่งธุรกิจ สถานบันเทิง ปักหลักเรียงรายกันสลับซับซ้อนบวกกับสภาพการจราจรที่แออัดด้วยยานพาหนะ ทั้งรถส่วนบุคคล รถสาธารณะ รถแท๊กซี่ รถไฟฟ้า ฯลฯ
           แต่ไม่น่าเชื่อว่ายังมีพื้นที่สีเขียวที่สงบร่มรื่นด้วยแมกไม้ธรรมชาติ เป็นสัปปายะสถานอยู่ในย่านนี้  คือที่สวนป่าศาลาพระราชศรัทธา วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร  ถนนพระราม 1 ตรงข้ามสำนักงานตำรวจแห่งชาติ  ปทุมวัน  (ระหว่างสยามพารากอนกับเซ็นทรัลเวิร์ล)

พระเทพวิมลญาณ ( หลวงพ่อถาวร  จิตตถาวโร ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม ได้สนองพระราชดำริโดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้ใช้พื้นที่ด้านติดกับวัดปทุมวนาราม อันเป็นที่ดินของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จัดสร้างศาลาพระราชศรัทธาและสวนป่าฯ เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติธรรมและสาธารณกุศล
             สำหรับที่มาของศาลาพระราชศรัทธาธรรม มีดังนี้
.........พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางสิริกิต์พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาถวายผ้าพระกฐิน เป็นการส่วนพระองค์ ณ วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหารเมื่อวันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2533 ในโอกาสนั้นได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสถานที่อบรมและปฏิบัติธรรมชั่วคราว ซึ่งพระครูปลัดสัมพิพัฒนเมธาจารย์ (ถาวร จิตฺตถาวโร) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปทุมวนารามฯ เป็นผู้ดำเนินการ มีพระราชปรารถว่าสมควรสร้างอาคารอันเป็นถาวรวัตถุขึ้นเพื่อให้ผู้มีจิตศรัทธาได้ใช้ศึกษาและปฏิบัติธรรม โดยมีสัปปายะตามสมควร
        บรรดาศิษยานุศิษย์ของพระครูปลัดสัมพิพัฒนเมธาจารย์ (ถาวร จิตฺตถาวโร)
และพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาจึงร่วมกัน สนองพระราชดำริ โดยจัดตั้ง "มูลนิธิศาลาพระราชศรัทธา" ขึ้น รับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธาทั้งภายในประเทศและต่างประเทศและได้สร้างพระพุทธรูปบูชา (พระเสริมจำลอง)
.......แล้วนำเงินที่ได้จากการบริจาค และการบูชาวัตถุมงคลมาดำเนินการก่อสร้างศาลาปฏิบัติธรรมจนกระทั่งแล้วเสร็จโดยให้ชื่อศาลานี้ว่า "ศาลาพระราชศรัทธา"
           ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดศาลาพระราชศรัทธาในวันพฤหัสบดี ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2536
ศาลาพระราชศรัทธา เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม  โดยมี พระเทพวิมลญาณ ( หลวงพ่อถาวร  จิตตถาวโร ) เป็นประธาน เผยแผ่ธรรมะ มีการอบรมเป็นประจำทุกวัน ช่วงเช้า  บ่าย  และค่ำ  สำหรับในวันอาทิตย์จักได้อาราธนาพระวิปัสสนาจารย์ พระเถรานุเถระมาแสดงธรรมช่วงเวลา 13.00 น
ถัดจากศาลาพระราชศรัทธาเข้าไปด้านในเป็นสวนป่าร่มรื่นด้วยแมกไม้ใหญ่กลางเล็ก
บรรยากาศสงบเป็นสัปปายะเหมาะแก่การพักผ่อนทางจิตและเติมพลังชีวิตด้วยพุทธธรรม
             ณ สวนป่าศาลาพระราชศรัทธา แห่งนี้มีความสงบเย็นเป็นธรรมอุทธยานกลางกรุง และเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหาธัมมจักโกวาท ( องค์จำลอง)  และรูปเหมือนพระอมตะเถระ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี ) หลวงปู่ทวด  และพระสุปฏิปันโน อาทิ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต  หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล  หลวงปู่โฮม โสภโณ ฯลฯ




ที่เป็นไฮไลท์ที่อยากแนะนำให้ไปกราบไหว้ขอพรกันคือ
 “องค์พระเทวราชโพธิ์สัตว์  อวโลกิเตศวร    จตุคามรามเทพ” ปางมหาราชลีลาประทานพร  ขนาดสูง สามเมตรเก้าเซนติเมตร  และปางอวโลกิเตศวร หกพระกร ( จากต้นแบบมหาเจดีย์ศรีวิชัย บุโรพุทโธ)  และพระเทวราชโพธิสัตว์จตุคามรามเทพ ประทัพยืนอีก 2 องค์ซึ่งล้วนมีความสวยงามและศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง
บริเวณใกล้ ๆ กันประดิษฐานรูปเหมือนหลวงปู่เทพโลกอุดร  หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี และรูปเหมือน หลวงปู่สรวง เทวดาเดินดิน ขนาดเท่าองค์จริง ที่สำคัญคือได้นำเส้นเกษาจริงของหลวงปู่สรวงและผ้าจีวรของหลวงปู่สรวงมาประกอบการจัดสร้าง


               จากประสบการณ์ที่ผ่านมาผู้ที่เคยมาสักการะบูชากราบไหว้พระพุทธรูปและรูปเหมือนพระมหาเถระครูอาจารย์ในสวนป่าศาลาพระราชศรัทธา ต่างประจักษ์ในผลานิสงส์ที่เกิดบุญบารมี  ทั้งผู้ที่มาขอพร ขอโชคลาภ หน้าที่การงาน  โดยเฉพาะกับองค์หลวงปู่สรวง เทวดาเดินดินที่แม้แต่เด็กอนุบาล เคยเล่าให้ผู้ใกล้ชิดฟังว่า.... “ หลวงปู่ก้มมาเป่าหัวให้....... ”
             เรื่องบนบานนั้นจะสังเกตุว่ามีพวงมาลัย  ว่าวและรูปปั้นไก่ชนขนาดต่าง ๆ ที่ผู้ศรัทธานำมาถวายไม่ขาด

            ที่พลาดไม่ได้ที่จะได้ไหว้ขอพรคือเมื่อเข้าประตูสวนป่าจะเห็นท้าวเวสสุวรรณยืนตะหง่านอยู่  นี่แหละทีเด็ดละขอบอก   จะเห็นพวงมาลัยท่วมท้นก็คอนเฟิร์มอยู่แล้ว
          หากท่านสนใจด้านวัตถุมงคลของมูลนิธิถาวรจิตตถาวโรฯก็สามารถติดต่อบูชาได้บริเวณด้านหน้าศาลาพระราชศรัทธา
             สวนป่าศาลาพระราชศรัทธา วัดปทุมวนาราม  เปิดให้สักการะทุกวันตั้งแต่เวลา  06.30-20.00 น  ทุกเช้าเวลา 07.00 น พระเทพวิมลญาณ ( หลวงพ่อถาวร  จิตตถาวโร ) และพระภิกษุสามเณร จะออกบิณฑบาตร จากนั้นท่านก็จะเมตตาแสดงธรรมนำเจริญจิตภาวนาบนศาลาพระราชศรัทธาเป็นประจำ
การเดินทางมายังสวนป่าศาลาพระราชศรัทธา วัดปทุมวนาราม  สะดวกที่สุดด้วยรถเมล์ รถไฟฟ้า โดยมาลงที่สถานีสยามฯ แล้วเดินมาทางแยกราชประสงค์เข้าประตูวัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร เดินชิดขวามายังศาลาพระราชศรัทธา
             ขอเชิญท่านมาอิ่มบุญอิ่มใจในธรรมชาติและบารมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เสริมความเป็นสิริมงคลแห่งชีวิต
ให้เจริญรุ่งเรืองวัฒนา “ถาวร”ตลอดไป



วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557

พระผ่องต่ออู ทะเลสาบอินเล


พระผ่องต่ออู  คือ “พระบัวเข็ม” ซึ่งแกะสลักขึ้นมาจากไม้หอม ส่วนทองคำที่หุ้มองค์พระนั้น เป็นทองแผ่นที่ผู้ศรัทธานำมาปิดทององค์พระติดต่อกันมานานหลายร้อยปี จนมองไม่เห็นรูปร่างขององค์พระจริง ๆ

ตามตำนานกล่าวว่าพระพุทธรูปทั้ง 5 องค์ถูกค้นพบที่ถ้ำแห่งหนึ่งในปี 1359 จึงได้มีการอัญเชิญมาให้ผู้คนกราบไหว้บูชาหลายแห่ง .. ต่อมาเจ้าชายองค์หนึ่งได้สร้างวัดแห่งนี้เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบัวเข็มทั้ง 5 มาจนถึงทุกวันนี้

แต่ยังมีตำนานที่เป็นเหมือนอภินิหาญขององค์พระ คือ มีปีหนึ่งน้ำท่วมใหญ่ที่ทะเลสาบอินเล จนพระจมหายไป ชาวบ้านช่วยกันงมหากลับมาได้ 4 องค์ ส่วนอีกองค์หนึ่งหาเท่าไหร่ก็ไม่เจอ จนอ่อนล้า และนำพระพุทธรูปทั้ง 4 องค์กลับมาที่วัดก่อน … แต่พอมาถึงวัด ชาวบ้านได้เจอพระบัวเข็มองค์ที่หาไม่พบ ประดิษฐานอยู่บนแท่นบนบุษบก โดยองค์พระยังมีตะไคร่น้ำติดมาด้วย ตั้งแต่นั้นมา ชาวอินทาและชาวไทใหญ่ ก็ยิ่งทวีความเคารพนับถือพระบัวเข็ม ว่าเป็นพระที่ศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมือง สามารถปกป้องอันตรายต่าง ๆได้

.............ทุกปีในเดือนตุลาคมในช่วงออกพรรษา จะมีงานยิ่งใหญ่ที่สุดของชาวอินทา ในทะเลสาบอินเล นั่นคือ จะมีการอัญเชิญพระบัวเข็มลงเรือการเวก ซึ่งเป็นนกในตำนานของชาวพม่า แล้วแห่ไปรอบๆทะเลสาบ โดยมีเรือร่วมในริ้วขบวนที่สวยงามนับร้อยลำ รวมถึงการพายเรือด้วยเท้าลำละหลายสิบคน ขบวนแห่จะมีราว 15 วัน ไปตามวัดต่างๆ 15 แห่งรอบๆทะเลสาบ เพื่อให้ประชาชนได้กราบไหว้สักการะ......ข้อมูลจาก wikimedia

เสน่หารามัญ เสน่ห์มอญโบราณ

เสน่หารามัญ เสน่ห์มอญโบราณ   ครูบาชัยมงคล วัดไทรย้อย

นักนิยมเครื่องรางของขลังประเภทแฟนพันธุ์แท้ต้องไม่พลาดที่จะต้องสะสม”ตะกรุด”  และถ้าจะว่าไปถึงตะกรุดเมตตามหาเสน่ห์ที่ลุ่มลึกในไสยเวทวิทยาคมแห่งอุษาคเนย์ก็ต้อง “ตะกรุดเสน่ห์มอญ” ที่บรรดาเกจิและฆราวาสขมังเวทย์ได้สร้างขึ้นในโอกาสและวาระต่าง ๆ
ที่จะนำเสนอในครั้งนี้ เป็นตะกรุด “เสน่หารามัญ หรือ เสน่ห์มอญ”ที่ไม่ธรรมดามีความเป็นมาน่าอัศจรรย์ จัดสร้างโดยครูบาชัยมงคล วัดไทรย้อย ต.ไทรย้อย อ.เด่นชัย จ.แพร่

จากคำบอกเล่าที่ได้สนทนากับครูบาฯ ท่านกล่าวว่า เมื่อปลายปีพ.ศ.2556 ท่านได้เดินทางไปเขาโปปา ที่อยู่ห่างจากเมืองพุกาม ประเทศเมียนมาร์ไปราว ๆ 50 กิโลเมตร เขาโปปา เป็นมหาคีรีศักดิ์สิทธิ์ เชื่อว่ามีความสำคัญดั่งเขาพระสุเมรุ ศูนย์กลางแห่งจักรวาล เป็นที่สถิตย์ของผู้สำเร็จ ผู้มากด้วยบารมีและนัตทั้ง 37 ตน   ที่สำคัญอีกประการคือ บนยอดเขาโปปาเคยเป็นที่พำนักของพ่อครูโพมินข่อง สิทธามหาเวท 1 ใน 10 ของพ่อครูผู้สำเร็จหรือผู้วิเศษแห่งเมืองม่าน

การขึ้นเขาโปปาจะต้องขึ้นบันใดลัดเลาะไปรวมทั้งหมด 777 ขั้น  เมื่อครูบาชัยมงคลท่านได้ขึ้นไปถึงยอดเขาท่านได้ตั้งจิตอธิษฐานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์และบารมีครูบาอาจารย์ที่สถิตย์ ณ ที่นั้นขอสถานที่และขอโอกาสที่จะประกอบพิธีสักการะและปลุกเสกวัตถุมงคลที่นำขึ้นไปด้วย
สักครู่ครูบาชัยมงคลก็เดินนำไปยังสถานที่ซึ่งเคยเป็นที่พำนักของพ่อครูโพมินข่อง  ภายในมีรูปถ่ายและรูปปั้นขนาดต่าง ๆ ของพ่อครูโพมินข่องประดิษฐานอยู่รวมทั้งข้าวของเครื่องใช้ อาทิเตียงนอน
ผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลสถานที่นั้นออกมาต้อนรับด้วยใบหน้ายิ้มแย้มช่วยจัดสถานที่ดูราวกับว่ารู้ล่วงหน้าว่าจะมีคณะจากไทยจะมาประกอบพิธี
เมื่อจัดข้าวของเครื่องบูชาเรียบร้อยแล้วครูบาชัยมงคลก็เริ่มสาธยายมนต์พระเวทเป็นภาษามอญโบราณอย่างแคล่วคล่อง  ศาสนิกชนพม่าที่ขึ้นไปยอดเขาโปปาพากันมาดูพิธีกรรมเต็มไปหมด  พระคณาจารย์ที่ร่วมเดินทางไปมีหลวงปู่บุญ วัดทุ่งเหียง ชลบุรี พระอาจารย์ภูไทย วัดเขาแก้ว ฯ  พระอาจารย์ฉลอง วัดยางเอน สุโขทัย

ครูบาชัยมงคลท่านเล่าว่าขณะประกอบพิธีอธิษฐานจิตนั้น ท่านน้อมสักการะครูบาอาจารย์ขอเมตตาประทานพระคาถาและยันต์สำคัญเพื่อจัดทำและปลุกเสกวัตถุมงคล
“ คาถาเสน่ห์มอญ 16 โสฬสพยางค์ ”  ที่ถือว่าเป็นสุดยอดวิชชาเมตตามหานิยมมหาเสน่ห์อย่างเอกอุได้ประทับลงบนจิตแห่งความจำของครูบาชัยมงคล  ท่านกล่าวว่า “ครูบาอาจารย์ท่านเมตตาให้เฉพาะมนต์บทนี้ซึ่งมีความสำคัญมาก เป็นเสน่ห์มอญโบราณ ”  และนี่คือที่มาของ “ตะกรุดเสน่ห์หารามัญ หรือ เสน่ห์มอญ” สร้างและเสกโดยครูบาชัยมงคล  
การจัดสร้างใช้แผ่นดีบุก (ทั้งดี ทั้งบุก) ขนาด 2.5 นิ้ว จารอักขระ “ คาถาเสน่ห์มอญ 16 โสฬสพยางค์ ” จากนั้นนำมาพอกด้วยผงเถาวัลย์หลงผสมผงสายเสน่ห์เมตตา  แล้วลงรักแท้ปิดทอง จารนอกจารในโดยครูบาชัยมงคล  ที่เป็นเอกลักษณ์คือทุกดอกร้อยด้วยเชือกป่านขวั้นเกลียว  ท่านว่าทุกอย่างต้องทำตามศาสตร์โบราณที่ครูบาอาจารย์ท่านประสิทธิไว้จึงจะได้ผล

อุปเท่ห์ของ”ตะกรุดเสน่หารามัญ หรือ เสน่ห์มอญ” คือ เมตตา มหานิยม มหาเสน่ห์ คนเห็นคนรักคนนิยม สมรักสมหวัง แม้จะทำการค้าการขายก็ได้ผลดี  เสริมดวงให้โชติช่วงชัชวาล บูชาดอกละ 500 บาท
วัตถุมงคลที่ครูบาชัยมงคลนำขึ้นไปปลุกเสกที่ยอดเขาโปปาในครั้งนี้ มีอาทิ สีสะแลงแงง พิมพ์ห้าเหลี่ยม เนื้อผงเจิมยาแดง ( บูชา 499 บาท )


              และผ้ายันต์มหาโชคมหาลาภ (พระสีวลี พระอุปคุต พระสังกัจายน์  พญาเขาคำ พญาหงส์ทอง ฯลฯ รวมในผืนเดียว บูชา 200 บาท )
หากท่านสนใจติดต่อได้ที่ วัดไทรย้อย  ต.ไทรย้อย  อ.เด่นชัย  จ.แพร่  โทร  054-661063  /  081-1796-001  และที่ สำนักพระเครื่อง สุริยันจันทรา สุขุมวิท 101/1 บางนา กทม โทร 02-399-2000  มือถือ  083-073-7515 : 09-4930-9355
อนึ่งครูบาชัยมงคลท่านยังได้จัดสร้าง ล๊อกเก็ตพ่อครูโพมินข่อง  2 แบบด้วยกันคือ พิมพ์ขี่ช้างมหาอำนาจ  และ พิมพ์มีกินตลอดชาติเขาโปปา  บูชา 500 บาท อัดกรอบพลาสติกกันน้ำเลี่ยมไมคอนสวยงาม  ล๊อกเก็ตชุดนี้มีประสพการณ์เป็นที่ประจักษ์ในพลานุภาพอันเยี่ยมยอด
ของดีที่พิสูจน์ได้  ไม่ได้ท้า  แต่กล้าให้พิสูจน์

พ่อครูโพมินข่อง หนึ่งในผู้บรรลุอภิญญาฤทธิ์

          

          เรื่องราวของพ่อครูโพมินข่องเป็นที่นับถือในหมู่ชาวไทยใหญ่ พม่าและมอญ และนับเอาพ่อครูโพมินข่องเป็นหนึ่งในสิบของพ่อครูทั้ง ๑๐ แห่งสายวิชา
               รายนามพ่อครูทั้ง ๑๐ นั้นมีดังนี้คือ ๑ พ่อครูพู่พู่อ่อง ๒ โพมินข่อง ๓ พ่อครูบูดออี ๔ พ่อครูบูดอบิวหรือสะยาปิ้ว ๕ พ่อครูบูดอปุ้ย ๖ พ่อครูอุเมี๊ยะขิ่น ๗ พ่อครูสัจจะยามิน ๘ พระมหาโอสถวิชา   ๙  เส่วิชา ๑๐ ต่อวิชา
               ทั้ง ๑๐ ท่านนับเป็นยอดบรมครูแห่งการสัก  รวมไปถึงวิชาการเล่นแร่แปรธาตุเพื่อสำเร็จความเป็นอมตะ ธรรมของพ่อครุทั้ง ๑๐ นั้นล้ำลึกพิสดาร สมบูรณ์ด้วยธรรมและอิทธิฤทธิ์ พลังเหนือโลก ที่สามัญชนคนธรรมดายากจะเข้าถึง ตามคติความเชื่อนั้นแม้ผู้ใดมีบารมีของพ่อครูท่านใดเพียงท่านเดียวสถิตย์อยู่กับตัว ด้วยลายสักยันต์ยาแดงก็ดี หรือด้วยคาถาที่ท่องจำไว้ในใจก็ดีหรือเพียงระลึกถึงท่านด้วยใจเคารพศรัทธาอันมั่นคงก็ดี คนผู้นั้นไม่มีโดนทำร้ายด้วยคุณไสย คุณคน หรือแม้แต่พิษร้าย สัตว์ร้ายต่างๆก็ไม่สามารถทำอันตรายใดๆได้
               พ่อครูโพมินข่อง คือหนึ่งในผู้บรรลุอภิญญาฤทธิ์แห่งเมืองพุกาม มีผู้คนบูชาท่านมากมาย ขนาดที่เขาโปปาอันเป็นสิงสถิตของมังมหาคีรีนัต ยังคงมีห้องของท่านซึ่งเคยเป็นที่อยู่ของท่านปรากฏไว้บนเขาโปปา เพื่อให้คนได้มีโอกาสไปสักการะ ไประลึกถึงอยู่เป็นประจำ

               รูปของพ่อครูโพมินข่อง มักเห็นในรูปของครูที่ปล่อยผมสยาย นั่งไขว้เท้าในท่าขัดสมาธิ และที่เป็นเอกลักษณ์อย่างยิ่งคือ ท่านมักถือถ้วยน้ำชาในท่ากำลังจิบอยู่เสมอ
               ในบรรดาครูทั้ง ๑๐ นั้นเป็นที่เชื่อกันว่า มีอย่างน้อย ๒ ท่านที่มีชีวิตเป็นอมตะ คือพ่อครูพู่พู่อ่อง และพ่อครูโพมินข่อง กล่าวกันว่าพ่อครูพู่พู่อ่อง ท่านใช้วิธีฝึกวิชาไปตามขั้นจนสำเร็จ ส่วนพ่อครูโพมินข่องใช้เคล็ดฝึกวิชาย้อนกลับ หมายความว่าพ่อครูพู่พู่อ่องนั้นฝึกตามลำดับจากขั้นวิชา ๑ ๒ ๓ ๔ ไปจนสำเร็จขั้นสูงสุด ส่วนพ่อครูโพมินข่องนั้นเมื่อเรียนวิชาท่านเริ่มจากวิชาที่ยากที่สุดก่อนและไล่ไปจนถึงวิชาขั้นพื้นฐาน ทั้งสองท่านสำเร็จแล้วอธิษฐานรักษาคุ้มครองพระพุทธศาสนา มีชีวิตยืนยาวเป็นกัปล์ รอรับเสด็จพระศรีอาริยะเมตรไตรย เมื่อฟังธรรมจากพระองค์จิตก็จะบรรลุสู่นิพพานธรรมและดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพานในทันที
               การสำเร็จวิชาของท่านพู่พู่อ่องและโพมินข่องนั้น คือสำเร็จทั้งด้านสมาธิจิต คือการเข้าฌานสมาบัติ กสิณ การเพ่งดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศธาตุ จนเข้าอรูปฌานได้ การสำเร็จพระเวทย์คือการท่องมนตราและการตั้งพิธี การสำเร็จวิชาเล่นแร่แปรธาตุ ทั้งปรอทสำเร็จและเหล็กไหลวิเศษ รวมทั้งการปรุงยาอมตะจากสมุนไพรที่หาได้จากเขาโปปา ด้วยความสามารถความสำเร็จทั้งหมดทั้งมวลนี้จึงเป็นคุณวิเศษเหนือโลก ที่ทำให้ท่านทั้งสองสมบูรณ์ด้วยฤทธิ์ยิ่งกว่าผู้ใดในปฐพี


               ทุกวันนี้ยังเชื่อกันว่า ทั้งพู่พู่อ่องและโพมินข่องบรมครูผู้วิเศษศักดิ์สิทธิ์ทั้งสองนั้นยังคงดำรงสังขารอยู่ ผู้ที่ระลึกถึงนามท่านจะได้รับพรอันวิเศษ ผู้ที่ภาวนาถึงท่านจะได้รับความเมตตา และทุกวันนี้ชาวพม่ายังเชื่อกันว่าท่านทั้งสองยังสถิตย์อยู่ในเขาโปปา ในส่วนของแดนทิพย์อันเป็นภพภูมิที่เหลื่อมซ้อนกับตัวเขาอย่างลี้ลับ คนธรรมดามองไปจะเห็นเพียงแท่งหินทึบ แต่ผู้บรรลุจตุถฌานหรือได้ฌาน ๔ จะสามารถเห็นถ้ำลี้ลับซ้อนอยู่ภายใน อันเป็นที่สถิตย์ของเหล่าบรมครูทั้งหลายผู้เป็นอมตะ